10/1/54

มาเตรียมตัวบริจาคเลือดกันเลย ...^__^...

       คราวที่แล้วเกริ่นนำเกี่ยวกับข้อดีแล้วก็สิทธิเล็กๆน้อยของผู้บริจาคเลือดไปแล้ว
วันนี้เลยจะมาพูดถึงการเตรียมตัวไปบริจาคเลือดกันบ้าง
ว่าจะมีการเตรียมตัวยังไงถึงจะไม่เป็นอันตรายทั้งผู้ให้และผู้รับ
แต่ก่อนที่เราจะไปเตรียมตัว เราลองมาดูกันก่อนว่าเรามีคุณสมบัติเหมาะสมที่จะบริจาคเลือดกันรึเปล่า

     คุณสมบัติผู้บริจาคโลหิต
1.  เป็นผู้มีอายุระหว่าง 17 - 60 ปี
2.  มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง น้ำหนักตั้งแต่ 45 กิโลกรัมขึ้นไป
3.  ไม่มีประวัติการเป็นโรคมาลาเรีย ในระยะ 3 ปี
4.  ไม่มีประวัติเป็นโรคตับอักเสบ หรือดีซ่าน ตัวเหลือง ตาเหลือง
5.  ผู้หญิง ไม่อยู่ในระยะประจำเดือน หรือ มีครรภ์
6.  ไม่ควรบริจาคหลังทำการผ่าตัด ในระยะ 6 เดือน
7.  ผู้เคยรับโลหิตงดบริจาค 1 ปี
8.  งดสูบบุหรี่ก่อนบริจาค 12 ชั่วโมง
9.  ไม่ทานยาแก้อักเสบก่อนบริจาค 1 สัปดาห์
10. ไม่ได้รับเลือดจากผู้อื่นมาระยะ 6 เดือน
11. ไม่ได้รับวัคซีนภายใน 14 วัน เซรุ่มภายใน 1 ปี
12. ไม่ได้มีสัมพันธ์กับบุคคลอื่นที่มิใช่คู่สมรส
13. มีการนอนหลับสนิท ไม่ต่ำกว่า 6 ชั่วโมง
14. ไม่มีโรคประจำตัวที่เสี่ยงต่อการเกิดอันตรายต่อการบริจาคโลหิต เช่น กามโรค
      โรคติดเชื้อต่าง ๆ ไอเรื้อรัง ไอมีโลหิต โลหิตออกง่ายผิดปกติ หยุดยาก
      โรคเลือดชนิดต่าง ๆ โรคหอบหืด โรคภูมิแพ้ โรคลมชัก โรคผิวหนังเรื้อรัง โรคหัวใจ
      โรคไต โรคเบาหวาน โรคไทรอยด์ มะเร็ง หรือโรคอื่นๆ
15. ไม่มีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศสัมพันธ์ หรือสำส่อนทางเพศ ได้แก่ ท่านหรือคู่สมรสของท่าน
      เคยมีเพศสัมพันธ์กับหญิงหรือชาย ที่ขายบริการทางเพศ หรือ มีเพศสัมพันธ์แบบชายรักชาย
16. ไม่ทำการเจาะหู สัก ลบรอยสัก ฝังเข็มในช่วงเวลา 1 ปีที่ผ่านมา
17. ไม่มีประวัติติดยาเสพติด หรือเคยเป็นผู้ที่เสพยาเสพติดโดยใช้เข็มฉีดยา
18. ไม่เป็นผู้ติดเชื้อเอดส์
19. สตรีไม่อยู่ในระหว่างมีประจำเดือน ตั้งครรภ์หรือ ให้นมบุตร และไม่มีการคลอดบุตร
      หรือแท้งบุตรภายใน 6 เดือนที่ผ่านมา
20. งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ อย่างน้อย 24 ชั่วโมงก่อนบริจาค
21. รับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง และยาธาตุเหล็กเพิ่ม
---------------------------------------------------------------------------------------------------------

ถ้าเช็คแล้วผ่านทุกข้อก็มาเตรียมตัวกันเลย


     การเตรียมตัวก่อนบริจาคโลหิต 

        สีของพลาสมาผิดปกติเป็นสีขาวขุ่น ไม่สามารถนำไปใช้ได้
     - ดื่มน้ำ 3-4 แก้ว และเครื่องดื่มเหลวเพิ่ม เช่น น้ำผลไม้ นม น้ำหวาน เพื่อเพิ่มปริมาณโลหิต
       ในร่างกาย จะช่วยป้องกันอาการแทรกซ้อน เช่น มึนงง อ่อนเพลีย หรือวิงเวียนศีรษะ
       ภายหลังบริจาคโลหิต หลีกเลี่ยงชา กาแฟ หรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน
     - งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ อย่างน้อย 24 ชั่วโมงก่อนบริจาค
     - งดสูบบุหรี่ ก่อนและหลังบริจาคโลหิต 1 ชั่วโมง เพื่อให้ปอดฟอกโลหิตได้ดี

     ขณะบริจาคโลหิต

    - สวมใส่เสื้อผ้าที่แขนเสื้อไม่คับเกินไป สามารถดึงขึ้นเหนือข้อศอกได้อย่างน้อย 3 นิ้ว
    - เลือกแขนข้างที่เส้นโลหิตดำใหญ่ชัดเจน ที่สามารถให้โลหิตไหลลงถุงได้ดี ผิวหนังบริเวณที่
      จะให้เจาะ ไม่มีผื่นคัน หรือรอยเขียวช้ำ ถ้าแพ้ยาทาฆ่าเชื้อ เช่น แอลกอฮอล์
      ให้แจ้งเจ้าหน้าที่ทราบล่วงหน้า ทำตัวตามสบาย อย่ากลัว หรือวิตกกังวล
     - ไม่ควรเคี้ยวหมากฝรั่ง หรืออมลูกอมขณะบริจาคโลหิต
     - ขณะบริจาคควรบีบลูกยางอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้โลหิตไหลได้สะดวก หากมีอาการผิดปกติ
        เช่น ใจสั่น วิงเวียน มีอาการคล้ายจะเป็นลม อาการชา อาการเจ็บที่ผิดปกติ ต้องรีบแจ้งให้พยาบาล
        หรือเจ้าหน้าที่ในบริเวณนั้นทราบทันที
     - หลังบริจาคโลหิตเสร็จเรียบร้อย ห้ามลุกทันที ให้นอนพักสักครู่จนกระทั่งรู้สึกสบายดี
        จึงลุกไปดื่มน้ำ และรับประทานอาหารว่างที่จัดไว้รับรอง

     หลังบริจาคโลหิต

     - ดื่มน้ำมากกว่าปกติ เป็นเวลา 1-2 วัน
     - หลีกเลี่ยงการทำซาวน่า หรือออกกำลังกายที่ต้องเสียเหงื่อมากๆ งดใช้กำลังแขนข้างที่เจาะ
       รวมถึงการหิ้วของหนักๆ เป็นเวลา 24 ชั่วโมง ภายหลังการบริจาคโลหิต
     - ถ้ามีอาการเวียนศีรษะคล้ายจะเป็นลม หรือรู้สึกผิดปกติ ให้รีบนั่งก้มศีรษะต่ำระหว่างเข่า
       หรือนอนราบยกเท้าสูงจนกระทั่งมีอาการปกติจึงลุกขึ้น และเดินทางกลับ ป้องกันอุบัติเหตุ
       จากการล้ม
     - ถ้ามีโลหิตซึมออกมาจากรอยผ้าปิดแผล อย่าตกใจ ให้ใช้นิ้วมืออีกด้านหนึ่งกดลงบนผ้าก๊อส
       กดให้แน่นและยกแขนสูงไว้ประมาณ 3-5 นาที หากยังไม่หยุดซึมให้กลับมายังสถานที่บริจาคโลหิต
       เพื่อพบแพทย์หรือพยาบาล
     - ผู้บริจาคโลหิตที่ทำงานปีนป่ายที่สูง หรือทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรกล ควรหยุดพัก 1 วัน
     - รับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง และยาธาตุเหล็กที่ได้รับวันละอย่างน้อย 1 เม็ด จนหมด
        เพื่อป้องกันการขาดธาตุเหล็ก

     ขั้นตอนบริจาคโลหิต

ขั้นตอนที่ 1 กรอกแบบฟอร์มผู้บริจาคโลหิต
*ควรให้ข้อมูลตรงตามความเป็นจริงของผู้บริจาค จะทำให้ได้โลหิตที่มีคุณภาพ ปลอดภัย ลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นทั้งต่อตัวผู้บริจาคเอง และตัวผู้ป่วย รวมทั้งเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในการรับบริจาคโลหิต

ขั้นตอนที่ 2 ตรวจร่างกาย วัดความดันโลหิต และความเข้มโลหิต
*บุคลากรทางการแพทย์ จะสอบถามประวัติผู้บริจาคเพิ่มเติม เพื่อวินิจฉัยเบื้องต้นว่าท่าน มีสุขภาพพร้อมที่จะบริจาคโลหิตหรือไม่ โปรดอย่าปิดบังข้อมูลเรื่องสุขภาพ หรือเขินอายที่ จะตอบคำถาม

ขั้นตอนที่ 3 ลงทะเบียนรับหมายเลขถุงบรรจุโลหิต

ขั้นตอนที่ 4 บริจาคโลหิต

ขั้นตอนที่ 5 พักรับประทานอาหารว่าง/เครื่องดื่ม
*หลังบริจาคโลหิตจำเป็นต้องดื่มเครื่องดื่มที่เจ้าหน้าที่จัดไว้บริการให้ และนั่งพักสักระยะหนึ่ง เพื่อให้ร่างกายได้ปรับสภาพน้ำในร่างกาย เมื่อปกติดีแล้วจึงเดินทางกลับ

ได้บริจาคเลือดกันแล้ว รู้สึกดีที่ได้ช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ใช่ม๊า.....
อย่าลืมแวะมาบริจาคเป็นประจำนะ ^__^

ที่มาของข้อมูล :

http://blood.redcross.or.th/
http://www.redcross.or.th/donation
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%AB%E0%B8%B4%E0%B8%95

ขอบคุณมากคร๊าบสำหรับข้อมูล ......(-/|\-)......


     - นอนหลับให้เพียงพออย่างน้อย 6 ชั่วโมงต่อเนื่อง ในเวลาปกติคืนก่อนวันบริจาค
     - รับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง และยาธาตุเหล็กเพิ่ม
     - รับประทานอาหารมื้อหลักก่อนมาบริจาคโลหิต หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง เนื่องจากจะทำให้

1 ความคิดเห็น:

  1. ถ้าไม่อยากเป็นลม
    ก่อนบริจาคก็พักผ่อนเยอะๆ+ทานข้าวก่อนด้วยนะครับ
    พยายามปฎิบัติตามที่เค้าแนะนำ....แค่นี้ก็ลดความเสี่ยงในการเป็นลมจากการบริจาคเลือดได้แล้วครับ ^__^

    ตอบลบ