“โลหิตเป็นปัจจัยหล่อเลี้ยงรักษาชีวิตให้ดำรงอยู่ นับได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต
การบริจาคโลหิตจึงเทียบได้กับการบริจาคชีวิต เป็นทานสูงสุด ควรยกย่องสรรเสริญอย่างยิ่ง
การที่ประชาชนชาวไทยมีศรัทธาบำเพ็ญประโยชน์ อย่างเดียวกันนี้
แสดงว่าทุกคนมีจิตใจเป็นกุศลถือตนว่าเป็นเพื่อนเกิด แก่ เจ็บ ตาย
ด้วยกัน มีหน้าที่ที่จะอนุเคราะห์กัน และกัน”
-------------------------------------------------------------------------------------------------------
วันนี้หน่วยกาชาดมารับบริจาคเลือดที่ที่ทำงาน
ทุกทีเห็นมีคนในที่ทำงานมาบริจาคเลือดกันให้พรึ่บ
แต่วันนี้บรรยากาศเงียบเหงาน่าดู
เห็นแล้วก็นึกใจหาย ยิ่งใกล้ช่วงเทศกาลปีใหม่แล้วด้วย
คนเดินทางก็เยอะ อุบัติเหตุก็แยะ ท่าทางเลือดคงขาแคลนน่าดู
ว่าแล้ววันนี้เลยประเดิมเรื่องแรกที่เขียนด้วยการออกมาชวนบริจาคเลือดดีกว่า
เริ่มจากข้อดีของการบริจาคเลือดกันเลย
- ได้รับความภาคภูมิใจ ในการบริจาค
@ตอนนี้ภูมิใจมากถึงเราจะไม่ค่อยได้ทำบุญ แต่อันนี้ก็ถือว่าทำบุญเหมือนกันนะ ช่วยชีวิตคนด้วย ^__^
- ได้รับทราบหมู่โลหิตของตนเองในระบบ ABO และ ระบบ RH
@ของเราหมู่ O RH-
- เสมือนได้รับการตรวจสุขภาพร่างกาย เนื่องจาก โลหิตที่ได้รับบริจาค ต้องผ่านกระบวนการในห้องปฏิบัติการ หากเป็นโรคร้ายแรง ทางสภากาชาดจะส่งเอกสารข้อมูลไปยังที่อยู่ที่ลงทะเบียนไว้
@อันนี้ชอบ ถ้าไม่มีเอกสารส่งมา แสดงว่าเลือดเราโอเค ไม่มีปัญหา
เพราะก่อนใช้งาน เค้าต้องตรวจหาทั้งหลายแหล่ ทั้งเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี, ไวรัสตับอักเสบ ซี,
เอดส์ และอีกหลายอย่าง
- ช่วยชีวิตผู้อื่นที่ต้องการเลือด เป็นการใช้ชีวิตต่อชีวิต
@อันนี้สำคัญที่สุด ภูมิใจนะเนี่ย ไม่ต้องเป็นหมอแต่ก็ช่วยชีวิตคนได้
สิทธิพิเศษของผู้บริจาคโลหิต
1. บริการตรวจสารเคมีในโลหิต
ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย มีบริการตรวจพิเศษฟรีสำหรับผู้มีจิตศรัทธา
ที่บริจาคโลหิตให้แก่ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ อย่างสม่ำเสมอ
ด้วยการให้บริการตรวจสารเคมีในโลหิต เช่น ตรวจหาน้ำตาล และไขมันในโลหิต
ตรวจสภาวะการทำงานของตับ และไต เป็นต้น
ทั้งนี้ผู้มีความประสงค์จะตรวจต้องติดต่อที่ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติสภากาชาดไทย
และแจ้งความจำนงที่แพทย์ผู้ตรวจวัดความดันก่อนบริจาคโลหิต ในวันจันทร์-วันศุกร์
เวลา 08.00-10.00 น.โดยต้องงดอาหาร และน้ำหลังเที่ยงคืนมาก่อน
2. สิทธิในการรักษาพยาบาล
- ผู้บริจาคโลหิต 24 ครั้งขึ้นไป ในโรงพยาบาลสังกัดสภากาชาดไทย ได้แก่ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
และโรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา ให้ความช่วยเหลือค่ารักษาพยาบาล
ประเภทผู้ป่วยสามัญ ถ้าอยู่ห้องพิเศษ ผ่าตัดคลอดบุตรให้เสียกึ่งหนึ่งของอัตราที่กำหนด
- สำหรับผู้บริจาคโลหิตตั้งแต่ 18 ครั้งขึ้นไป อาศัยอำนาจจากกระทรวงสาธารณสุข ตามความในประเภท ข.
ที่มีหนังสือรับรองจากสภากาชาดไทยว่าได้บริจาคโลหิตตั้งแต่ 18 ครั้งขึ้นไป
ได้รับการช่วยเหลือค่ารักษาพยาบาล และถ้าอยู่ห้องพิเศษ ได้รับความช่วยเหลือค่าห้องและค่าอาหาร
เพียงร้อยละ 50 ของอัตราที่กำหนดไว้
- สำหรับผู้บริจาคโลหิตตั้งแต่ 7 ครั้งขึ้นไป อาศัยอำนาจจากกระทรวงสาธารณสุข ตามความในประเภท ค.
ที่มีหนังสือรับรองจากสภากาชาดไทยว่าได้บริจาคโลหิตตั้งแต่ 7 ครั้งขึ้นไป
ได้รับการช่วยเหลือเฉพาะค่าห้องพิเศษและค่าอาหารพิเศษไม่เกินสิทธิอันพึงเบิกได้
จากหน่วยงานต้นสังกัดก่อน ส่วนที่เกินสิทธิให้เรียกเก็บเพียงร้อยละ 50 สำหรับผู้ไม่มีสิทธิ
ได้รับความช่วยเหลือเพียงร้อยละ 50 ของอัตราที่กำหนดไว้
สิทธินี้จะใช้ได้เฉพาะผู้ที่ไม่มีสิทธิอย่างอื่น เช่น ประกันสังคม หรือข้าราชการ
และจะใช้ได้เฉพาะผู้ป่วยใน เมื่อได้ห้องเข้าพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลแล้ว ให้ญาตินำบัตรผู้บริจาคโลหิต
มาขอใบรับรองผู้บริจาคโลหิตได้ที่ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย ถนนอังรีดูนังต์ หรือที่เหล่ากาชาดจังหวัดนั้นๆ เพื่อนำไปลดหย่อนการรักษาพยาบาลเป็นครั้งๆไป สอบถามเพิ่มเติม โทร. 0 2263 9600 ต่อ 1813
3. ศรัทธาแห่งความภาคภูมิ
ได้รับเข็มที่ระลึกผู้บริจาคโลหิตครั้งที่ 1, 7,16,24,36,48,60,72,84,96,108
และจะได้เข้ารับพระราชธานเหรียญ กาชาดสมนาคุณครั้งที่ 3,2,1
เมื่อบริจาคโลหิตครบ 50,75,100 ตามลำดับ
ทั้งนี้ ข้อมูลเรื่องสิทธิสำหรับผู้บริจาคโลหิต ไม่ได้เผยแพร่ตามสื่อทั่วไป เพราะนโยบายหลักของการบริการโลหิต คือจะเน้นเรื่องการบริจาคโลหิตโดยไม่หวังสิ่งตอบแทน อย่างไรก็ตาม หากผู้บริจาคโลหิตได้รับความเดือดร้อน สภากาชาดไทย จะเป็นที่พึ่งให้และไม่ทอดทิ้ง
---------------------------------------------------------------------------------------------------------
โฮะ..........เผลอแป๊บเดี๋ยวดึกซะแล้วเหรอเนี่ย
ไว้วันพรุ่งนี้ค่อยมาพูดต่อเรื่องการเตรียมตัวบริจาคเลือด
วันนี้นอนก่อนก่อนละน๊า เดี๋ยวพรุ่งนี้ตื่นไปทำงานไม่ทัน หุหุหุ
...^__^...
ได้รับเข็มที่ระลึกผู้บริจาคโลหิตครั้งที่ 1, 7,16,24,36,48,60,72,84,96,108
และจะได้เข้ารับพระราชธานเหรียญ กาชาดสมนาคุณครั้งที่ 3,2,1
เมื่อบริจาคโลหิตครบ 50,75,100 ตามลำดับ
ทั้งนี้ ข้อมูลเรื่องสิทธิสำหรับผู้บริจาคโลหิต ไม่ได้เผยแพร่ตามสื่อทั่วไป เพราะนโยบายหลักของการบริการโลหิต คือจะเน้นเรื่องการบริจาคโลหิตโดยไม่หวังสิ่งตอบแทน อย่างไรก็ตาม หากผู้บริจาคโลหิตได้รับความเดือดร้อน สภากาชาดไทย จะเป็นที่พึ่งให้และไม่ทอดทิ้ง
---------------------------------------------------------------------------------------------------------
โฮะ..........เผลอแป๊บเดี๋ยวดึกซะแล้วเหรอเนี่ย
ไว้วันพรุ่งนี้ค่อยมาพูดต่อเรื่องการเตรียมตัวบริจาคเลือด
วันนี้นอนก่อนก่อนละน๊า เดี๋ยวพรุ่งนี้ตื่นไปทำงานไม่ทัน หุหุหุ
...^__^...